สรุป
ตามทฤษฎีจลของแกสบนฐานของไอเดียลแกสที่ประกอบด้วยโมเลกุลเคลื่อนที่อย่างอิสระแบบสุ่ม
ค่าพลังงานจลน์ของโมเลกุลเป็นสัดส่วนกับอุณหภูมิ
ที่ขณะหนึ่งใดมีการแจกแจงของอัตราเร็วโมเลกุลภายในแกส โดยที่การแจกแจงอัตราเร็วแบบแมกเวลล์ที่หามาจากข้อตกลงตามทฤษฎีจลน์
และการแจกแจงนี้สอดคล้องกับการทดลองของแกสที่ความดันไม่สูงมาก
พฤติกรรมของแกสจริงที่ความดันสูงหรือเมื่อใกล้จุดที่เป็นของเหลวจะต่างไปจากกฏของไอเดียลแกส
เนื้อจากขนาดของโมเลกุลและแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
ที่อุณหภูมิวิกฤติ
แกสสามารถเปลี่ยนไปเป็นของเหลวหากให้ความดันที่มากพอ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤติ ไม่มีจำนวนความดันที่ทำให้เกิดผิวหน้าของเหลวเกิดขึ้น
จุด
triple point ของสารเป็นจุดเดียวที่อุณหภูมิ ความดัน
ซึ่งทั้งสามสถานะ ของแข็ง ของเหลว และแกส สามารถคงอยู่ร่วมกันในสมดุล เพราะว่า ทำให้เกิดได้ใหม่ได้ ดัง เช่นจุด triple
point ของ น้ำ ที่มักจัดให้เป็นจุดอ้างอิงมาตรฐาน
การระเหย (Evaporation) ของของเหลวเป็นผลจาก
โมเลกุลที่เคลื่อนที่เร็วหลุดออกจากผิวหน้าของเหลว เพราะว่าความเร็วโมเลกุลเฉลี่ยน้อยกว่าหลังจากที่โมเลกุลที่เร็วมากกว่าหลุดออกไป
อุณหภูมิจะลดลงเมื่อเกิดการระเหย
ความดันไออิ่มตัว อ้างถึงความดันไอเหลือของเหลวเมื่อสองสถานะอยู่ในภาวะสมดุล ความดันไอของสารเช่นน้ำ
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก และเท่ากับความดันบรรยากาศที่จุดเดือด
ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) ของอากาศในสถานที่กำหนดคืออัตราส่วนของความดันบางส่วนของไอน้ำในอากาศกับความดันไอที่อิ่มตัวที่อุณหภูมินั้น ปกติแล้วจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์
Mean free path คือระยะเฉลี่ยของโมเลกุลที่เคลื่อนได้ระหว่างการชนกันกับโมเลกุลอื่น
การแพร่ (Diffusion) คือกระบวนการที่โมเลกุลของสารหนึ่งเคลื่อนจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง
อันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของความเข้มขนของสาร
No comments:
Post a Comment